คู่มือคณะกรรมการตรวจสอบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คู่มือคณะกรรมการตรวจสอบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการตรวจสอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Chiang Mai University Audit Committee)  ได้รับการแต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย โดยมีอำนาจหน้าที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ร่วมไปถึงข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วย การตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564 ในการสอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการบริหารความเสี่ยง หรือติดตามให้มั่นใจว่าการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้ดำเนินการอย่างเพียงพอแล้ว และมีการประเมินการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่

คู่มือคณะกรรมการตรวจสอบฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งข้อมูลอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อมูลทั้งหมดมีทั้งส่วนที่เป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย/กฎเกณฑ์/แนวปฏิบัติที่ดี และส่วนที่เป็นข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งรวบรวมมาจากเอกสารเกี่ยวกับกรรมการตรวจสอบที่จัดทำและเผยแพร่โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบในการปฏิบัติหน้าที่ ต่อไป สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี้ >> Audit Committee Manual – CMU

แผนการตรวจสอบ ประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานการตรวจสอบภายใน

แผนการตรวจสอบ ประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานการตรวจสอบภายใน

ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561 หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ข้อ 17 (1) ให้สำนักงานการตรวจสอบภายในกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนการบริหารงานและการดำเนินงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัย และคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคำนึงถึงการกำกับดูแลที่ดี ความมีประสิทธิภาพของกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง และความเพียงพอของการควบคุมภายในของมหาวิทยาลัย (3) จัดให้มีการประกันและปรับปรุงคุณภาพ งานตรวจสอบภายในทั้งภายในและภายนอกตามรูปแบบและวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด (4) กำหนดให้จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่ออธิการบดี ก่อนเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ และตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรม การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการในด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน เรื่องการวางแผนการตรวจสอบกำหนดให้จัดทำแผน โดยนำผลการประเมินความเสี่ยงมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการตรวจสอบประจำปี ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิบัติด้านตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แผนการตรวจสอบภายในทำให้ผู้บริหารทราบความเหมาะสมของขอบเขตการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน และให้การสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามแผนการตรวจสอบประจำปี และตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2564 หมวด 2 ข้อ 16 (4) โดยให้จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่ออธิการบดี ก่อนเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนกันยายนของทุกปีนั้น สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อจัดทำแผนกิจกรรมการตรวจสอบภายใน โดยใช้แนวทางการประเมินความเสี่ยงจากผลการตรวจสอบ การรับนโยบายจากผู้บริหาร ประกอบกับนโยบายของคณะกรรมการตรวจสอบที่ให้สำนักงานการตรวจสอบภายในเข้าทำการตรวจสอบหน่วยรับตรวจ โดยให้เข้าตรวจสอบหน่วยงานที่มีนัยสำคัญจากผลการประเมินความเสี่ยงของปีที่ผ่านมา สำนักงานการตรวจสอบภายในจึงได้จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ประกอบด้วยหน่วยรับตรวจจำนวน 65 หน่วยงาน แผนการตรวจสอบภายในฉบับนี้จะสมบูรณ์และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้ ต้องได้รับอนุมัติแผนจากอธิการบดี และเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2564 มีรายละเอียดตามเอกสารดังแนบ >> Plan 2566

แผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักงานการตรวจสอบภายใน

แผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักงานการตรวจสอบภายใน

ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561 หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ข้อ 17 (1) ให้สำนักงานการตรวจสอบภายในกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนการบริหารงานและการดำเนินงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัย และคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคำนึงถึงการกำกับดูแลที่ดี ความมีประสิทธิภาพของกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง และความเพียงพอของการควบคุมภายในของมหาวิทยาลัย (3) จัดให้มีการประกันและปรับปรุงคุณภาพ งานตรวจสอบภายในทั้งภายในและภายนอกตามรูปแบบและวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด (4) กำหนดให้จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่ออธิการบดี ก่อนเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ และตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรม การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการในด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน เรื่องการวางแผนการตรวจสอบกำหนดให้จัดทำแผน โดยนำผลการประเมินความเสี่ยงมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการตรวจสอบประจำปี ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิบัติด้านตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แผนการตรวจสอบภายในทำให้ผู้บริหารทราบความเหมาะสมของขอบเขตการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน และให้การสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามแผนการตรวจสอบประจำปี และตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2564 หมวด 2 ข้อ 16 (4) โดยให้จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่ออธิการบดี ก่อนเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนกันยายนของทุกปีนั้น สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อจัดทำแผนกิจกรรมการตรวจสอบภายใน โดยใช้แนวทางการประเมินความเสี่ยงจากผลการตรวจสอบ การรับนโยบายจากผู้บริหาร ประกอบกับนโยบายของคณะกรรมการตรวจสอบที่ให้สำนักงานการตรวจสอบภายในเข้าทำการตรวจสอบหน่วยรับตรวจ โดยให้เข้าตรวจสอบหน่วยงานที่มีนัยสำคัญจากผลการประเมินความเสี่ยงของปีที่ผ่านมา สำนักงานการตรวจสอบภายในจึงได้จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ประกอบด้วยหน่วยรับตรวจจำนวน 66 หน่วยงาน แผนการตรวจสอบภายในฉบับนี้จะสมบูรณ์และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้ ต้องได้รับอนุมัติแผนจากอธิการบดี และเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2564 มีรายละเอียดตามเอกสารดังแนบ >> Plan 2565

คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานการตรวจสอบภายใน

คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานการตรวจสอบภายใน

มาตรฐานด้านคุณสมบัติ ว่าด้วยวัตถุประสงค์ อานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ซึ่งจะถูกกาหนดไว้ในกฎบัตรการตรวจสอบภายในโดยมีความสอดคล้องกับภารกิจ งานตรวจสอบภายใน การปฏิบัติงานจะต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมปราศจากการแทรกแซงใด ๆ ในเรื่องของการกาหนดขอบเขตการปฏิบัติงานและการรายงาน ผลการตรวจสอบ ประกอบกับการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในต้องกระทาด้วยความเชี่ยวชาญและ ความระมัดระวังรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ จึงเล็งเห็นถึงความสาคัญของการปฏิบัติงานให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามมาตรฐาน และให้ผู้ตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าใจวิธีการตรวจสอบและมีแนวทางการตรวจสอบ ที่สามารถใช้งานได้จริง จึงได้จัดทาคู่มือการตรวจสอบด้านต่าง ๆ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ตรวจสอบภายใน ได้นาคู่มือฉบับนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานตรวจภายในเป็นที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับจากหัวหน้าส่วนงาน ผู้บริหาร หน่วยรับตรวจและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และให้มั่นใจว่าข้อมูล และข้อเสนอแนะจากการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในสามารถใช้เป็นข้อมูลหรือแนวทางประกอบ การพิจารณาตัดสินใจในการบริหารส่วนงานให้บรรลุเป้าหมายของส่วนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีการกากับดูแลที่ดี รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับส่วนงาน
การจัดทาคู่มือการตรวจสอบฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการตรวจสอบ และเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึง วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ วิธีการ และข้อมูลที่ใช้ในการดาเนินการตรวจสอบ รวมทั้งประเด็นที่ใช้ในการตรวจสอบ สานักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการตรวจสอบฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ มีรายละเอียดตามเอกสารดังแนบ >>> คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานการตรวจสอบภายใน Interaudit Manual

คู่มือการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Internal Control Manual

คู่มือการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Internal Control Manual

คู่มือการควบคุมภายใน จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การควบคุมภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ผู้บริหารและพนักงานของมหาวิทยาลัย มีความรู้และความเข้าใจในความหมาย ความสำคัญ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมภายในเพิ่มขึ้น จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน ซึ่งจะเป็นผลให้การดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัดและช่วยลดหรือป้องกันความเสี่ยงจากการผิดพลาดและความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเพื่อให้การควบคุมภายในของมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561 สามารถดูได้ที่นี่้ >>> Internal Control Manual CMU